8 อาการแพ้ฟิลเลอร์ วิธีสังเกตและวิธีป้องกันผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์

อาการแพ้ฟิลเลอร์

อาการแพ้ฟิลเลอร์   

รู้ว่าฟิลเลอร์ คือ อะไร? เหมาะกับใคร? ฉีดจุดไหนได้บ้าง? กันไปแล้ว สำหรับใครที่ฉีดฟิลเลอร์เป็นครั้งแรก อาจจะมีความกลัว ความกังวลอยู่ไม่น้อย ยิ่งมารู้ว่าการฉีดฟิลเลอร์อาจเกิดผลข้างเคียง หรือมีอาการแพ้ฟิลเลอร์เกิดขึ้นได้ แม้จะยังไม่รู้รายละเอียดมากนัก แต่ได้ยินแบบนี้ก็ชักจะเริ่มมีอาการใจตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ฉีดฟิลเลอร์ดีไหม? ฉีดฟิลเลอร์แล้วจะแพ้ไหม?    

จริง ๆ แล้วอาการแพ้ฟิลเลอร์ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ถ้าฉีดฟิลเลอร์แท้ ซึ่งเป็นสารเติมเต็มไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic acid) หรือ HA ที่ได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการอาการแพ้ แต่ถึงแม้จะมีโอกาสเกิดน้อย ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ ใครบ้างไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ และถ้าฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วจะมีวิธีสังเกตอย่างไร? ว่าอาการแบบไหนที่เรียกว่า “อาการแพ้ฟิลเลอร์” ติดตามได้ในบทความนี้ 

ใครไม่ควรฉีดฟิลเลอร์?

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรประเมินตัวเองก่อนว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่ หากใช่ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์เพราะอาจเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์หรือผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้ 

  • ผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือแพ้สารไฮยาลูรอนิก แอซิด
  • หญิงมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงการให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีแผลฟกช้ำง่าย มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ยาแอสไพริน (Aspirin), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDs), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba), วิตามินอี (Vitamin E) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่เป็นเริมหรืองูสวัดอยู่ หลังฉีดฟิลเลอร์อาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้
ข้อห้ามการฉีดฟิลเลอร์

ผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์

หลังฉีดฟิลเลอร์อาจมีอาการบวมเล็กน้อย หรือมีจุดแดงเล็ก ๆ ที่เกิดจากเข็ม แต่อาการจะดีขึ้นภายในระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน สามารถใช้รองพื้นธรรมดา เพื่อปกปิดรอยเข็ม หรือรอยบวมแดงได้ หากภายใน 3 วัน อาการบวมยังไม่ดีขึ้นและมีแนวโน้มแย่ลง ควรกลับไปที่คลินิกเพื่อพบแพทย์ นอกจากนั้นหากเกิดรอยช้ำ หรือรอยบวม ไม่ควรใช้ความร้อนประคบ เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์ละลาย

หลังจาก 14 วัน อาการบวมจะหายไปเกือบ 100% ถ้ามีรอยช้ำอยู่ก็จะจางลงเรื่อย ๆ ฟิลเลอร์จะเริ่มกลมกลืนเข้ากับผิวของเราเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถใช้ชีวิต รับประทานอาหาร ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนโดยตรงเป็นเวลานาน เพื่อให้ฟิลเลอร์อยู่ได้นานมากขึ้น

หลังฉีดฟิลเลอร์
หลังฉีดฟิลเลอร์อาจมีอาการบวมเล็กน้อย

วิธีสังเกตอาการแพ้ฟิลเลอร์ 

นอกจากผลข้างเคียงข้างต้น อย่างอาการบวมหรือรอยเข็มที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติและสามารถหายได้เองแล้ว ยังมีอาการแพ้ฟิลลอร์ที่เราจะพาไปดูวิธีสังเกตอาการแพ้ฟิลเลอร์กันว่ามีอะไรบ้าง? เกิดจากอะไร? และอาการรุนแเรงมากน้อยแค่ไหน? ดังนี้ 

  1. รอยแดง หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ 

เกิดขึ้นได้เป็นปกติ สามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

  1. ผิวไม่เรียบ (Beading) หรือรอยนูน

เกิดจากการที่แพทย์ไม่รู้เทคนิคในการการฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นจนเกินไป เช่น การฉีดในบริเวณที่ชั้นผิวมีความบาง เช่น ฟิลเลอร์ใต้ตา การฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีการเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เป็นรอยนูน หรือเห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนได้

  1. ฟิลเลอร์เคลื่อนที่

เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อย ๆ อาจจะเกิดปัญหาการเคลื่อนที่ของฟิลเลอร์ คือ ฟิลเลอร์มีการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ ไหลออกจากตำแหน่งที่ฉีด ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อนย้ายจากบริเวณที่ฉีด และสามารถรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ได้นานขึ้น จึงควรเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลเหมาะสม รวมทั้งเทคนิคการฉีดที่ดีด้วย

เนื้อฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์แต่ละรุ่นมีขนาดโมเลกุลที่แตกต่างกัน
  1. อาการแพ้ฟิลเลอร์

กรณีแพ้มากที่สุด คือขึ้นผดเล็ก ๆ บริเวณที่ฉีด โดยอาการแพ้ประเภทนี้อาจพบได้บางครั้ง ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหรือนานเป็นปี ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด และอายุใช้งานของฟิลเลอร์แต่ละชนิด

  1. ผิวเป็นผื่น ลมพิษแบบรุนแรง (Angioedema)

เป็นอาการแพ้ฟิลเลอร์ที่จะพบได้น้อยมาก หากมีอาการต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

  1. ติดเชื้อ

เกิดจากการใช้เทคนิควิธีการฉีดที่ไม่สะอาด ฉีดกับหมอกระเป๋า หรือคลินิกไม่ได้มาตรฐาน อาจเกิดการติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ โดยมีอาการตั้งแต่ ปวดบวม แดง ร้อน มีตุ่ม หรือก้อนหนองในบริเวณที่ฉีด Filler

  1. เนื้อตาย

เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดง อาจส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการอุดตันได้ จนอาจนำไปสู่บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยงเกิดอาการเนื้อตาย (Necrosis)

  1. ตาบอด 

เกิดจาก Filler ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือกดหลอดเลือดแดง (Supratrochlear and Supraorbital Artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (Ophthalmic Artery) จนส่งผลให้สูญเสียการมองเห็น

ฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร?

ฟิลเลอร์อักเสบ คือ เกิดการติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ ก่อให้เกิดการอักเสบ เป็นก้อน นูน แดง ปวด บวม ร้อน มีตุ่ม หรือมีก้อนหนองตรงบริเวณที่ฉีดได้ 

ถ้าหากมีอาการที่กล่าวมานี้ ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา รับยาแก้ปวดไปรับประทานเพิ่ม หรือถ้าฟิลเลอร์อักเสบรุนแรง ต้องทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ สลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้เท่านั้น

วิธีสังเกตฟิลเลอร์อักเสบหรือไม่? อาการแรกที่แสดงให้เห็นก่อนคือ ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม ซึ่งเกิดจากรอยเข็ม จะค่อย ๆ ยุบหายได้เองใน 7-14 วัน แต่ถ้าหลังจากนั้นอาการบวมยังไม่ลดลง และมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมด้วย ถือว่าผิดปกติ เช่น

  • ปวดบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มากขึ้น มากกว่าปกติ
  • บวมขึ้นเรื่อย ๆ กดเจ็บบริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
  • แดงหรือคล้ำที่ผิดปกติ บริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
  • ร้อนบริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมในลักษณะนี้ เป็นอันตราย เกิดจากฟิลเลอร์อักเสบจากการติดเชื้อ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

วิธีการป้องกัน รักษาอาการแพ้ฟิลเลอร์ 

วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ได้มาตรฐาน สามารถอ่านเพิ่มเติม ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี ? แนะวิธีเลือกคลินิก พร้อม 10 Checklist ที่ต้องรู้! ฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์ปรับรูปหน้าโดยเฉพาะ ห้ามฉีดกับหมอเถื่อน หมอกระเป๋าเด็ดขาด รวมทั้งใช้ฟิลเลอร์แท้ ที่ผ่านการรับรองจากอย. เท่านั้น ก่อนฉีดสามารถศึกษาวิธีดูฟิลเลอร์แท้ ซึ่งสามารถตรวจสอบเองได้ในเบื้องต้น เพื่อให้มั่นใจได้ในความปลอดภัย ฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่เกิดปัญหาหรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ขึ้นมาตามมา  

สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ ถ้าฉีดฟิลเลอร์แท้สามารถฉีดสลายได้ด้วยต้วยาไฮยาโรลูนิเดส ซึ่งได้เคยเขียนยนอธิบายไปในบทความ ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน (ใต้ตา หน้าผาก ปาก คาง) รู้สาเหตุและวิธีแก้ไขให้ผิวคืนสภาพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ แต่ถ้าหากพลาดไปฉีดฟิลเลอร์ปลอมมา เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีส่วนประกอบจากซิลิโคนเหลว ซึ่งไม่สามารถสลายได้เลยตามธรรชาติ ดังนั้นวิธีแก้คือต้องผ่าตัดหรือขูดออกเท่านั้น

ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดฟิลเลอร์
ฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์

หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร?

  • งดอาหารที่มีรสเผ็ดจัด หรือแสบร้อนจนหน้าแดง
  • งดดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ น้ำหมัก และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการกินชาบู หมูกะทะ ปิ้งย่าง ที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อน ๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง เนื่องจากมีสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว
  • ควรงดนมวัว และอาหารที่มีรสหวานจัด เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดการบวมอักเสบ
  • ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด จะทำให้ยุบบวมช้า รวมถึงทำให้ผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารจากร้านอาหารที่ไม่สะอาด เพราะพยาธิบางชนิดในอาหารอาจไปทำปฏิกิริยากับฟิลเลอร์จนเกิดการอักเสบได้
หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกิน1
หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกิน2

สรุป 

อาการแพ้ฟิลเลอร์ สามารถป้องกันได้ โดยในเบื้องต้นควรตรวจสอบตัวเองว่าเข้าข่ายคนที่ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์หรือไม่ หากใช่ไม่ควรฉีด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ฟิลเลอร์ได้ สามารถสังเกตได้จาก 8 อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่แสดง ซึ่งสามารถรักษาหรือฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์แท้ แต่ถ้าฉีดฟิลเลอร์ปลอมต้องผ่าตัดหรือขูดออก ไม่สามารถฉีดสลายได้ 

ดังนั้น ก่อนฉีดฟิลเลอร์จึงควรรู้วิธีการป้องกันและวิธีการรักษาอาการแพ้ฟิลเลอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ถ้าเลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์มีประสบการณ์ และใช้ฟิลเลอร์แท้